ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2568 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2568 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน

avatar

Administrator


678


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2568 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน.pdf" target="_blank">ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2568 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน.pdf</a><br />
<br />
<strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;</strong>นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า <strong>ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2568 เท่ากับ 113.3 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.3</strong> จากความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างภาครัฐและการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว โดยมีรายละเอียด ดังนี้</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;</strong><strong>หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.9</strong> จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้แบบ วงกบประตู และวงกบหน้าต่าง จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในงานตกแต่งภายในขยายตัวเพิ่มขึ้น <strong>หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 4.7</strong> จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป จากการปรับราคาของผู้ผลิต เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างภาครัฐและการซ่อมแซมอาคารที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น <strong>หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.8</strong> จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง และคอนกรีตผสมเสร็จ จากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (ปูนซีเมนต์ ทราย) หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.6 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กตัวซี และเหล็กตัว H จากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว และมาตรการทางภาษีของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้อุปทานเหล็กส่วนเกินในตลาดโลกสูงกดดันราคาเหล็กและราคาวัตถุดิบในการผลิตเหล็ก (บิลเล็ต เศษเหล็ก) ปรับราคาลดลง <strong>หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.6</strong> จากการลดลงของกระเบื้องเคลือบบุผนัง กระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องยาง PVC ปูพื้น เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน <strong>หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.8</strong> จากการลดลงของสีน้ำอะครีลิคทาภายใน สีรองพื้นปูน และสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบลดลงตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับลดลง รวมทั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว <strong>หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 1.7</strong> จากการลดลงของโถส้วมชักโครก ฝักบัวอาบน้ำ และราวจับสแตนเลส เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน <strong>หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.6</strong> จากการสูงขึ้นของสายส่งกำลังไฟฟ้า NYY สายไฟฟ้า VCT ท่อ PE และท่อระบายน้ำเสีย PVC เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น <strong>หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 4.1</strong> จากการสูงขึ้นของยางมะตอย และวัสดุธรรมชาติ (หินคลุก ดิน ทรายหยาบ) เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างและการซ่อมแซมด้านคมนาคมของภาครัฐเพิ่มขึ้น&nbsp;&nbsp; &nbsp;</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;</strong>นายพูนพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2568 มีแนวโน้มลดลงจากหลายปัจจัยทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ดังนี้ (1) ความเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินจากอัตราหนี้เสียและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ยังคงกดดันการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลางลงมา (2) ต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้า ปรับลดลงเหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย ในรอบเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2568 ตามมติของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) (3) ราคาพลังงานและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก (OPEC+) มีมติเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน (4) ความไม่แน่นอนของการบังคับใช้มาตรการทางภาษีของสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศหาตลาดใหม่ทดแทน และทำให้มีสินค้าวัสดุก่อสร้างสำคัญ อาทิเช่น เหล็กเส้น ท่อเหล็ก อลูมิเนียม เป็นต้น มีการระบายสินค้าสู่ตลาดอาเซียนและประเทศไทยมากขึ้น เกิดการแข่งขันด้านราคากับผู้ประกอบการภายในประเทศ (5) วิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว และจีนยังคงไม่มีนโยบายลดกำลังการผลิตเหล็ก ส่งผลต่ออุปทานเหล็กในตลาดโลก ซึ่งปัจจัยภายนอกมีความผันผวนสูงอาจจะส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2568 เท่ากับ 113.3 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างภาครัฐและการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้แบบ วงกบประตู และวงกบหน้าต่าง จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในงานตกแต่งภายในขยายตัวเพิ่มขึ้น หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 4.7 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป จากการปรับราคาของผู้ผลิต เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างภาครัฐและการซ่อมแซมอาคารที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง และคอนกรีตผสมเสร็จ จากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (ปูนซีเมนต์ ทราย) หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.6 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กตัวซี และเหล็กตัว H จากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว และมาตรการทางภาษีของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้อุปทานเหล็กส่วนเกินในตลาดโลกสูงกดดันราคาเหล็กและราคาวัตถุดิบในการผลิตเหล็ก (บิลเล็ต เศษเหล็ก) ปรับราคาลดลง หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของกระเบื้องเคลือบบุผนัง กระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องยาง PVC ปูพื้น เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.8 จากการลดลงของสีน้ำอะครีลิคทาภายใน สีรองพื้นปูน และสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบลดลงตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับลดลง รวมทั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 1.7 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก ฝักบัวอาบน้ำ และราวจับสแตนเลส เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของสายส่งกำลังไฟฟ้า NYY สายไฟฟ้า VCT ท่อ PE และท่อระบายน้ำเสีย PVC เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย และวัสดุธรรมชาติ (หินคลุก ดิน ทรายหยาบ) เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างและการซ่อมแซมด้านคมนาคมของภาครัฐเพิ่มขึ้น    

          นายพูนพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2568 มีแนวโน้มลดลงจากหลายปัจจัยทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ดังนี้ (1) ความเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินจากอัตราหนี้เสียและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ยังคงกดดันการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลางลงมา (2) ต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้า ปรับลดลงเหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย ในรอบเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2568 ตามมติของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) (3) ราคาพลังงานและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก (OPEC+) มีมติเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน (4) ความไม่แน่นอนของการบังคับใช้มาตรการทางภาษีของสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศหาตลาดใหม่ทดแทน และทำให้มีสินค้าวัสดุก่อสร้างสำคัญ อาทิเช่น เหล็กเส้น ท่อเหล็ก อลูมิเนียม เป็นต้น มีการระบายสินค้าสู่ตลาดอาเซียนและประเทศไทยมากขึ้น เกิดการแข่งขันด้านราคากับผู้ประกอบการภายในประเทศ (5) วิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว และจีนยังคงไม่มีนโยบายลดกำลังการผลิตเหล็ก ส่งผลต่ออุปทานเหล็กในตลาดโลก ซึ่งปัจจัยภายนอกมีความผันผวนสูงอาจจะส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 04 มิถุนายน 2568