สนค. ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดประชุมระดมสมอง ยกระดับอุตสาหกรรมไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์  และเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมหาแนวทางปรับโครงสร้างภาคการส่งออกไทย

สนค. ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดประชุมระดมสมอง ยกระดับอุตสาหกรรมไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์  และเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมหาแนวทางปรับโครงสร้างภาคการส่งออกไทย

avatar

Administrator


55


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดประชุมระดมสมอง.pdf" target="_blank">สนค. ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดประชุมระดมสมอง.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong> สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์&nbsp;จัดการประชุมระดมสมอง (Focus Group) แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์ (PCB) และเซมิคอนดักเตอร์ ภายใต้การดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมระดมสมอง (Focus Group) เรื่อง &ldquo;การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์ (PCB) และเซมิคอนดักเตอร์&rdquo; เมื่อวัที่ 29 เมษายน 2568 ณ ห้องปทุมธานี โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคเอกชน อาทิ สมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ไทย กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์&nbsp;สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ โดยเปิดเผยว่า การส่งออกมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ช่วยกระตุ้นภาคการผลิตให้ขยายตัว สร้างการจ้างงาน และนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกในการกระตุ้นการผลิตเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยในปี 2567&nbsp;การส่งออกสินค้าสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ 10.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)&nbsp;และในไตรมาสแรกของปี 2568 (มกราคม - มีนาคม) การส่งออกมีมูลค่า 2,757,249 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยเดือนละ 15.2%&nbsp;โดยมีแรงหนุนหลักจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม และการเร่งนำเข้าเพื่อเตรียมพร้อมรองรับมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ แต่วันนี้สถานการณ์การค้าเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรง ทั้งทางด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้าและเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น รวมถึงนโยบายกำแพงภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่าง ๆ ที่ยังคาดการณ์ได้ยาก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สนค. ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นท้าทายดังกล่าวต่อภาคการส่งออกไทย จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง พัฒนา และยกระดับภาคการส่งออกให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ผ่านการผลักดันสินค้าส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ ที่มีโอกาสทางการตลาด มีมูลค่าเพิ่มสูง และใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำหนดแนวทางยกระดับมูลค่าการส่งออกของประเทศ อันจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้แก่ภาคการส่งออก สร้างรายได้เข้าสู่ผู้ประกอบการไทยที่แท้จริง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การจัดกิจกรรมระดมสมองสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์ (PCB) และเซมิคอนดักเตอร์ในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีในการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ และความเห็นกับผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการยกระดับภาคการส่งออกของไทย โดยจะนำข้อมูล ความเห็น ประเด็นท้าทาย โอกาส และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมการประชุมระดมสมองในครั้งนี้มาผนวกกับผลการศึกษาส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับโครงสร้างและยกระดับภาคการส่งออกของไทย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการประชุมระดมสมอง (Focus Group) แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์ (PCB) และเซมิคอนดักเตอร์ ภายใต้การดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมระดมสมอง (Focus Group) เรื่อง “การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์ (PCB) และเซมิคอนดักเตอร์” เมื่อวัที่ 29 เมษายน 2568 ณ ห้องปทุมธานี โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคเอกชน อาทิ สมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ไทย กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ โดยเปิดเผยว่า การส่งออกมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ช่วยกระตุ้นภาคการผลิตให้ขยายตัว สร้างการจ้างงาน และนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกในการกระตุ้นการผลิตเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยในปี 2567 การส่งออกสินค้าสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ 10.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และในไตรมาสแรกของปี 2568 (มกราคม - มีนาคม) การส่งออกมีมูลค่า 2,757,249 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยเดือนละ 15.2% โดยมีแรงหนุนหลักจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม และการเร่งนำเข้าเพื่อเตรียมพร้อมรองรับมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ แต่วันนี้สถานการณ์การค้าเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรง ทั้งทางด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้าและเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น รวมถึงนโยบายกำแพงภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่าง ๆ ที่ยังคาดการณ์ได้ยาก

          สนค. ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นท้าทายดังกล่าวต่อภาคการส่งออกไทย จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง พัฒนา และยกระดับภาคการส่งออกให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ผ่านการผลักดันสินค้าส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ ที่มีโอกาสทางการตลาด มีมูลค่าเพิ่มสูง และใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำหนดแนวทางยกระดับมูลค่าการส่งออกของประเทศ อันจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้แก่ภาคการส่งออก สร้างรายได้เข้าสู่ผู้ประกอบการไทยที่แท้จริง

          การจัดกิจกรรมระดมสมองสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์ (PCB) และเซมิคอนดักเตอร์ในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีในการร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ และความเห็นกับผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการยกระดับภาคการส่งออกของไทย โดยจะนำข้อมูล ความเห็น ประเด็นท้าทาย โอกาส และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมการประชุมระดมสมองในครั้งนี้มาผนวกกับผลการศึกษาส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับโครงสร้างและยกระดับภาคการส่งออกของไทย สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 01 พฤษภาคม 2568